MASJiDTHAi.COM

หน้าหลัก มัสยิดและสัปปุรุษ กระบี่ชุมพรตรังนครศรีธรรมราชนราธิวาสประจวบคีรีขันธ์ปัตตานีพังงาพัทลุงภูเก็ตยะลาระนองสงขลาสตูลสุราษฎร์ธานี
กอจ. สงขลา มัสยิดและสัปปุรุษ

มัสยิดกลางประจำจังหวัดสงขลา ทะเบียนเลขที่: 352

หมู่ที่: 10 แขวง/ตำบล: คลองแห เขต/อำเภอ: หาดใหญ่ จังหวัด: สงขลา
ประวัติความเป็นมาฯ
มัสยิดกลางประจำจังหวัดสงขลา�และสำนักงานคณะกรรมการอิสลาม�ประจำจังหวัดสงขลา ประวัติความเป็นมา �������������ความคิดในเรื่องที่จะจัดสร้างมัสยิดกลางประจำจังหวัดสงขลา�และศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลาได้เริ่มก่อตัวขึ้นเมื่อปี�2534�โดย�นายอาศิส��พิทักษ์คุมพล�ประธานฯ�และคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา�ในยุคก่อนการบังคับใช้พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม ����������เพราะต้องการที่จะให้มี�“มัสยิดกลางประจำจังหวัด”�เฉกเช่นจังหวัดอื่น�ๆ�ในจังหวัดชายแดนภาคใต้�รวมทั้งเพื่อเป็นที่ทำการของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลาอย่างเป็นเอกเทศ ���������จากแนวคิดดังกล่าวก็ถูกผลักดันไปสู่การปฏิบัติ�เมื่อประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา�ได้นำเสนอโครงการต่อนายนิพนธ์�บุญญภัทโร�ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา�(ในขณะนั้น)��ไปยังกรมการศาสนา�กระทรวงศึกษาธิการ�เมื่อปี�2534�แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ�เพราะไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ �������ทว่าความล้มเหลวในครั้งแรก�มิได้ทำให้คณะกรรมการฯ�เลิกล้มความตั้งใจ�ในทางตรงกันข้าม�ยิ่งเป็นแรงผลักดันให้พยายามหาทางและโอกาสอยู่ตลอดเวลา�จนกระทั่งในปี�2542�ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา�ได้รับการแจ้งความจำนงจากกลุ่มบุคคล�5�ท่าน�คือ -�นายอรุณ��หล้าดัม -�นายอารีฟีน��นิยมเดชา -�นายหมัดตะเหย็บ��บิลหมัด� -�นายภูวดล��บิลยีหลี�� และนายสมนึก��สิยะโอ๊ะ �������ซึ่งมีความประสงค์จะบริจาคที่ดิน�จำนวน�5�ไร่�บริเวณถนนลพบุรีราเมศวร์�ต.คลองแห�อ.หาดใหญ่�จ.สงขลา�เพื่อก่อสร้างมัสยิดกลางประจำจังหวัดสงขลา�จากนั้นคณะกรรมการฯ�จึงได้ประสานเป็นการภายในกับท่านพลากร�สุวรรณรัฐ�องคมนตรี�ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่ง�ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้��และคุณชูศักดิ์��มณีชยางกูร�ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการส่วนประสานราชการ�กรมการปกครอง�และขณะเดียวกันดำรงตำแหน่ง�ผช.ผอ.ศอ.บต.ด้วยอีกตำแหน่ง�เพื่อขอให้ผลักดันโครงการนี้เข้าสู่โครงการพัฒนาเฉพาะกิจของจังหวัดชายแดนภาคใต้��เพราะรัฐบาลจะให้ความสำคัญ ���������ปรากฏว่าการเสนอโครงการในครั้งนี้ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงมหาดไทยและผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี��จนกระทั่งเวลาล่วงเลยมาจนถึงปี�2543�ก็ยังไม่ปรากฏว่าจะได้รับการจัดสรรงบประมาณตามมติคณะรัฐมนตรีแต่อย่างใด ���������ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลาจึงได้ปรึกษาหารือกับคุณไพร�พัฒโน�นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่�ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง�เพื่อประสานงานเรื่องโครงการให้เป็นรูปธรรมต่อไป�ด้วยความหวังว่า�นี่จะเป็นหน้าเป็นตาและความภาคภูมิของประชาคมมุสลิมจังหวัดสงขลาต่อไปในอนาคต� ����������นายไพร�พัฒโน�นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่�ก็อาสาจะประสานให้�ในปีต่อมา�(2544)�ก็ได้รับการจัดสรรงบประมาณ�จำนวน�38.5�ล้านบาท�กระนั้นก็ตาม�ขณะที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ�จำนวน�38.5�ล้านบาทนั้น��ก็ยังไม่มีแบบแปลนที่จะก่อสร้างแต่อย่างใด��และด้วยความไม่เข้าใจในกระบวนการดำเนินการใช้งบประมาณ�จนเวลาล่วงเลยไปจนเกือบสิ้นปีงบประมาณ��ก็ได้รับคำแนะนำจากส่วนประสานราชการ�กรมการปกครอง�ให้จัดทำแบบแปลน���คณะกรรมการฯ�จึงได้ติดต่อให้�อ.สถาพร�ศิริลิมป์�และ�อ.มานะ�ยืนตระกูล�สถาปนิก�ช่วยออกแบบ�โดยแบบแปลนที่ได้ถูกกำหนดขึ้นเป็นอาคารขนาดใหญ่�3�ชั้น ������ประกอบด้วย... �������������-��ชั้นล่างสุด�เป็นสถานที่จอดรถจุประมาณ�76�คัน �������������-��ชั้นที่�2�เป็นที่ทำการสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา�และห้องประชุมอเนกประสงค์จุคนประมาณ�800�คน �������������-��ชั้นที่�3�เป็นอาคารมัสยิดจุคนประมาณ�2,500�–�3,000�คน� และบริเวณมัสยิดจะปรับปรุงภูมิทัศน์ให้มีสวนหย่อม�สระน้ำ�และมีน้ำตกไหลจากช่วงกลางบันไดลงสู่สระน้ำ���เป็นโจทย์ใหญ่ให้ทุกคนช่วยกันคิดว่า�จะทำอย่างไรดี�?�ครั้นจะดำเนินการในวงเงิน�38.5�ล้านบาท�โดยเขียนแบบขึ้นใหม่�ก็จะได้เพียงมัสยิดหลังเล็ก�ๆ�ไม่เหมาะกับความเป็นมัสยิดกลาง�ครั้นจะไม่สร้าง�งบประมาณก็ต้องตกไป����แล้วจะต้องทำเรื่องยื่นขอใหม่�ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลย!!!�จนในที่สุด...�ประธานคณะกรรมการฯ�ได้ประสานหารือ��กับ�ฯพณฯ�วันมูหะมัดนอร์�มะทา��ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม�โดยเล่ารายละเอียดทั้งหมด� พร้อมทั้งขอคำแนะนำ�ท่านตัดสินใจในทันทีว่าได้งบประมาณมาตั้ง�38.5�ล้านบาท�มิใช่เรื่องง่ายเลย�จะปล่อยให้ตกไปได้อย่างไร? ������������การแก้ปัญหาในเบื้องต้นก็คือ....จัดสร้างตามแบบแปลนที่ออกแบบไว้ครั้งแรก���เมื่อเงินหมดก็ค่อยหาทางดำเนินการกันใหม่ต่อไป�“ผมอยู่ในคณะรัฐบาลจะหาทางช่วยเหลือ�ขอให้ประธานฯ�ประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัด�โยธาธิการจังหวัด�วิศวกร�และสถาปนิกผู้ออกแบบ�ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมาหารือกันที่����ห้องวีไอพีสนามบินหาดใหญ่ก่อนที่ผมจะเดินทางกลับยะลา” ������������นี่คือคำพูดที่ท่านอาจารย์วันมูหะมัดนอร์��มะทา��พูดกับประธานฯ�อาศิส ผลการหารือ�ทุกคนเห็นด้วยกับคำแนะนำของ�ฯพณฯ�รองนายกรัฐมนตรี��(นายวันมูหะมัดนอร์�มะทา)�โดยตกลงจะดำเนินการก่อสร้างโดยแก้ไขปรับปรุง�แบบแปลนให้ลงตัวในวงเงินงบประมาณ�38.5�ล้านไปก่อน�แล้วค่อยหางบเพิ่มเติมในส่วนที่ยังต้องปรับปรุงก่อสร้างต่อไป�ปัญหาก็จบลง เมื่อปัญหาดังกล่าวจบลง�ปัญหาใหม่ก็เข้ามาแทนที่��เนื่องจาก�อ.มานะ��ยืนตระกูล�แจ้งว่าหากจะสร้างในที่ดิน�5�ไร่�ที่ได้รับบริจาคนั้น�ก็จะคับแคบไม่สามารถจัดภูมิทัศน์ให้สง่างามดังที่กำหนดไว้ได้�จะต้องใช้ที่ดินเพิ่มอีกอย่างน้อย�5�ไร่�รวมเป็น�10�ไร่�เพื่อภูมิทัศน์ที่สวยงามในอนาคต��ซึ่ง�ฯพณฯ�รองนายกรัฐมนตรี�(นายวันมูหะมัดนอร์�มะทา)�ก็เห็นด้วย�และขอให้ประธานฯ�และคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยอมเป็นหนี้จัดซื้อที่ดินเพิ่มอีก�จำนวน�6�ไร่ครึ่ง�พร้อมทั้งซื้อขยายถนนทางเข้ามัสยิดด้วย�รวมเป็น�7�ไร่ครึ่ง�สนนราคาประมาณ�7�ล้านบาทเศษ ��������กล่าวสำหรับสถานะทางการเงินของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลาแต่ละคนนั้น�ล้วนแล้วแต่เป็นชาวบ้านที่หาเช้ากินค่ำ�ไม่มีใครมีฐานะร่ำรวย�ทุกคนในชีวิตไม่เคยเห็นเงินจำนวนล้านมาก่อน�หากต้องแบกหนี้�จำนวน�7�ล้านบาทเศษ�ย่อมถือเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดในชีวิตอย่างแน่นอน��ทว่า�ด้วยคำยืนยันจาก�อ.วันมูหะมัดนอร์��มะทา��และด้วยกำลังใจที่ได้รับจากท่านประธานฯ�อาศิส��คณะกรรมการฯ�จึงยอมแบกรับภาระหนี้สินด้วยความเต็มใจ �������ในที่สุด...จึงได้เริ่มการก่อสร้างขึ้นเมื่อปลายปี�2545���จะบอกว่า...�นี่เป็นการนับหนึ่งของการก่อสร้าง��“ศูนย์รวมใจพี่น้องมุสลิมชาวจังหวัดสงขลา”�อย่างเป็นทางการ�ก็คงจะไม่ผิดนักโดยมัสยิดกลางประจำจังหวัดสงขลา�ได้เริ่มตอกเสาเข็มต้นแรก��เมื่อวันที่�18�มกราคม�2545���มีความยาว�17�เมตร���จำนวน�433�ต้น �������ซึ่งการก่อสร้างได้ดำเนินการในระยะที่�1��ตั้งแต่ปี�2544�–�2548�งานก่อสร้างโครงสร้างอาคารมัสยิดได้แล้วเสร็จเมื่อปี�2548 ������ต่อมาเมื่อ�อ.วันมูหะมัดนอร์��มะทา�ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย�ก็ยังมีบทบาทสำคัญอีกครั้ง�เมื่อช่วยประสานและสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมอีก�5.2�ล้านบาท�สำหรับปรับปรุงห้องสำนักงาน,�ห้องประชุม�และระบบไฟฟ้า-สุขาภิบาลบางส่วน ������กระทั่ง�เมื่อวันที่�1�ตุลาคม�2546���นายสมพร��ใช้บางยาง��ได้ย้ายมาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา���ซึ่งต่อมาในปี�2548�ก็ได้อนุมัติงบประมาณ�CEO�จำนวน�15.98�ล้านบาท�เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์�พร้อมกับถนนบริเวณทางเข้ามัสยิดกลางฯ�และถนนรอบ�ๆ��อาคาร���รวมทั้งได้รับงบประมาณผ่าน�อบจ.สงขลา�จำนวน�1.5�ล้านบาท��เพื่อปรับปรุงลานจอดรถ�และงบประมาณจากกรมส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่น�จำนวน�5�ล้านบาทเพื่อก่อสร้างห้องน้ำ�จากนั้นการก่อสร้างก็หยุดชะงักเพราะปัญหาเดิม�คือ�เงินไม่พอ �����จนกระทั่ง�การมาของพ่อเมืองสงขลาที่ชื่อ�“สนธิ��เตชานันท์”�เมื่อ�15�พฤศจิกายน�2549���เป็นจุดเปลี่ยนแห่งความสำเร็จที่เกิดขึ้นในวันนี้ ประโยคแรกที่ท่านกล่าวกับคณะกรรมการฯ�ที่ไปร่วมต้อนรับหลังจากทักทายและขอบคุณต่อกัน�นั่นคือ.. �����“มาอยู่สงขลา�ผมรู้แล้วว่าสิ่งแรกที่ผมต้องทำคืออะไร?” ������ท่านบอกว่า... �����“มัสยิดกลางประจำจังหวัดสงขลาจะต้องสร้างให้เสร็จ�มิใช่แค่ความสง่างาม��แต่เป็นหน้าเป็นตา��เป็นความภาคภูมิใจให้พี่น้องมุสลิมทั่วทั้งภาคใต้” ������นี่คือ...เจตนารมณ์ของท่านที่บอกกับประธานอาศิส�ในวันนั้น �����ในเบื้องต้น.ท่านผู้ว่าฯ�สนธิ��เตชานันท์�ได้ประสานกับนายอำเภอทุกพื้นที่เพื่อรวบรวมเงินจากมัสยิดทุกอำเภอในจังหวัดสงขลา�ซึ่งได้มากบ้าง�น้อยบ้าง�แต่รวมทั้งหมดแล้วได้�3�ล้านกว่าบาท�ขณะเดียวกัน�กรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา�30�ท่าน�ก็ได้สมทบคนละ�1�แสนบาท�ได้มาอีก�3�ล้านบาท�ก่อนที่ท่านผู้ว่าฯ�สนธิ�ได้ประสานหางบประมาณจากทุกภาคส่วน�ปรากฏว่าในปี�2550�ได้รับงบเพิ่มเติมจากหน่วยงานต่าง�ๆ�เพื่อตกแต่งภายใน�ก่อสร้างหออาซาน�สระน้ำพุ�และปรับปรุงภูมิทัศน์��ดังนี้ -�ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้�(ศอ.บต.)��30�ล้านบาท -�เทศบาลนครหาดใหญ่��10�ล้านบาท -�เทศบาลนครสงขลา�10�ล้านบาท -�องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา�10�ล้านบาท -�บริษัท�ป.ต.ท.�จำกัด�(มหาชน)�5�ล้านบาท -�การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย�5�ล้านบาท -�สมาคมจีน�15�สมาคม�ในหาดใหญ่�5�ล้านบาท -�สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา�3�ล้านบาท -�มัสยิดต่าง�ๆ�ในจังหวัดสงขลา�3,805,117�บาท ���(รวมงบในการก่อสร้าง�ณ�ปัจจุบัน�รวมเป็นเงินทิ้งสิ้น�77,305,117�บาท) more

กรรมการมัสยิด

ไม่มีข้อมูล

อิหม่าม

ไม่มีข้อมูล

คอเต็บ

ไม่มีข้อมูล

บิหลั่น

ไม่มีข้อมูล
เลขานุการ
ไม่มีข้อมูล
กรรมการ
ไม่มีข้อมูล
กรรมการ
ไม่มีข้อมูล
กรรมการ
ไม่มีข้อมูล
กรรมการ
ไม่มีข้อมูล
กรรมการ
ไม่มีข้อมูล
กรรมการ
ไม่มีข้อมูล
กรรมการ
ไม่มีข้อมูล
กรรมการ
ไม่มีข้อมูล
กรรมการ
ไม่มีข้อมูล
กรรมการ
ไม่มีข้อมูล
กรรมการ

สัปปุรุษ

ข้อมูลสัปปุรุษ ครอบครัว ชาย หญิง รวม
สัปปุรุษ ณ ปัจจุบัน 1 1 0 1
สัปปุรุษในเขต 1 1 0 1
สัปปุรุษนอกเขต 0 0 0 0
สัปปุรุษเข้ารับอิสลาม 0 0 0 0
สัปปุรุษย้ายเเข้าจากมัสยิดอื่น 0 0 0 0
สัปปุรุษเสียชีวิต 0 0 0 0
สัปปุรุษย้ายออกไปมัสยิดอื่น 0 0 0 0
สัปปุรุษจำหน่ายออกจากระบบ 0 0 0 0
มัสยิดกลางประจำจังหวัดสงขลา
ที่ตั้งเลขที่: หมู่ที่: 10 ถนน/ตรอก/ซอย: ตำบล/แขวง: คลองแห
อำเภอ/เขต: หาดใหญ่ จังหวัด: สงขลา รหัสไปรษณีย์: 90110 เบอร์โทรศัพท์:
จำนวนผู้เข้าชม: 14,946