MASJiDTHAi.COM
กิจกรรม
ประชาสัมพันธ์
ดาวน์โหลด
ลงทะเบียนมัสยิด
เข้าสู่ระบบมัสยิด
มัสยิดและสัปปุรุษ
กระบี่
กรุงเทพมหานคร
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ประจวบคีรีขันธ์
ปัตตานี
พังงา
พัทลุง
ภูเก็ต
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี
เชียงใหม่
เพชรบุรี
ย้อนกลับ
กิจกรรม
กิจกรรม
โดย:
กอจ. กระบี่
03 มี.ค. 2563
727
บทบาทของผู้นำศาสนาด้านจิต วิญญาน และด้านสังคม (THE ROLES OF SPIRITUAL AND SECULAR LEADERS )
3 มี.ค.2563 เวลา 11:00-11:45 น. บทบาทของผู้นำศาสนาด้านจิต วิญญาน และด้านสังคม (THE ROLES OF SPIRITUAL AND SECULAR LEADERS ), สมควร ขันเงิน, บรรยาย วันนี้ นายสมควร ขันเงิน รอง ผวจ.กระบี่ พบปะผู้นำศาสนาอิสลาม ตำแหน่ง อิหม่ามประจำมัสยิด คอเต็บ บิหลั่น จำนวน 205 มัสยิด รวมจำนวน ประมาณ 600 คน ตามโครงการอบรมสัมมนาผู้นำประจำมัสยิด เนื่องในงานเมาว์ลิดกลางจังหวัดกระบี่ ระหว่างวันที่ 1-5 ม.ค.2563 ในโอกาสนี้ นายสมควร ขันเงิน รอง ผวจ.กระบี่ ได้กล่าวพบปราศรัย แก่ผู้นำศาสนา และบรรยายหัวข้อ บทบาทของผู้นำศาสนาด้านจิต วิญญาน และด้านสังคม ซึ่งสรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1. การบริหารองค์กรศาสนา ได้กำหนดหน้าที่ของผู้นำระดับต่างๆ ไว้แล้ว ตาม พ.ร.บ.การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.2540 จึงขอให้ทุกท่านได้ศึกษาและทำความเข้าใจ ซึ่งบทบาทหน้าที่ของท่านมีมากมาย มิได้จำกัดเพียงผู้นำด้านพิธีการ (FORMAL AND SYMBOLIC ROLES) คือบทบาทหน้าที่ทางด้านศาสนาหรือสัญญลักษณ์พิธี แต่ท่านต้องมีภาวะผู้นำทางโลก ( SECULAR CRITERIA) อีกด้วย 2. DALE CARNEGIR นักเขียนชาวอเมริกา และมี BEST SELLER BOOKS มากมาย กล่าวว่า ผู้นำไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่ง ( POSITION AND RANKS ) แต่ผู้นำคือผู้ที่มีผู้ตาม ( FOLLOWERS ) มากที่สุด และผู้นำไม่จำต้องรู้ทุกเรื่อง(GENERALISTS ) แต่เป็นผ้ที่มีความสามารถในการใช้ ผู้รู้และเชี่ยวชาญแต่ละเรื่อง ( SPECIALISTS ) มาทำงานในเรื่องนั้นๆ ให้ประสบผลสำเร็จได้ตามวัตถุประสงค์ 3. ในด้านผู้นำจิตวิญญาน หรือสถานะของผู้นำด้านจิตวิญญานตามหลักอิสลาม มีโองการใน THE AL-QURAN กล่าวว่า และเราไม่ได้สร้างสรรค์มนุษย์และญินขึ้นเพื่อทำการอื่นใด นอกจากจะให้พวกเขาแสดงความจงรักภักดีต่อเราเท่านั้น ผู้นำไม่ว่ารูปแบบใดต้องมีความรู้ ดังโองการที่ว่า ใครคือผู้ที่ดีเลิศในสายตาของพระเจ้า ภายหลังการตายของพระศาสดา ก็คืออุลามาอฺ หรือผู้รู้ทางศาสนานั่นเอง 4. ในระหว่างบรรดาพวกเราผมเห็นว่า เรามิได้ขาดแคลนผู้รู้หรือนักวิชาการทางด้านศาสนา ( SPIRITUAL LEADERS) เลย แต่เราขาดนักปฏิสังสัทน์ทางสังคม ( SOCIAL INTERACTION) ที่เป็นนักบริหาร หรือนักบริหารมืออาชีพ เราขาดผู้นำที่สื่อสารกับสาธารณะรู้เรื่อง เราขาดนักประนีประนอม และเรามักขาดนักบริหารมืออาชีพ เป็นต้น 5. บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ก็ดี หรือบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ มัสยิดก็ดี ต้องมีคุณสมบัติ 2 ส่วน สำคัญ คือส่วนทางธรรม ( SPIRITUAL DIMENSION) และส่วนทางโลก( SECULAR DIMENSION) ส่วนทางโลกคือ วิสัยทัศน์ บุคลิกภาพ การสื่อสาร การประสานงาน การบริหารองค์กร การวินิจฉัยสั่งการ ( DECISION) การเผยแพร่ความรู้ทั้งทางโลกและทางจริยธรรม และการนำพาองค์กร อิสลาม พวกเรามักประสบข้อด้อยในเชิงบริหารองค์กร ตัวอย่างเช่น อิหม่าม และคณะกรรมการมัสยิด ต้องรับผิดชอบการขับเคลื่อนงานมากมาย นอกจากงานทางด้านจริยธรรม ( MORAL AND ETHICAL SIDES ) หากท่านไม่ทำตามบทบาทหน้าที่ ก็ไม่จำต้องมีคณะกรรมการมัสยิดถึง 15 คน มีเพียงยามหรือ รปภ.เฝ้าและทำความสะอาดมัสยิดเพียง 1 คน ก็พอแล้ว เป็นต้น 6. ผู้นำต้องมีธรรมาภิบาล ( GOOD GOVERNANCE) เช่น มีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ ( ACCOUNTABILITY) โปร่งใส ( TRANSPARENCY) และซื่อสัตย์ และเป็นผู้สร้างความเป็นธรรม หรือมีความยุติธรรม 7. ผู้นำควรมีบุคคลิกภาพแบบคิดบวก ( POSITIVE THINKING) บุคลิกประชาธิปไตย ความคิดแบบประชาธิปไตย รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นคนสุภาพอ่อนน้อม เป็นนักประนีประนอม แต่ไม่ใช่อ่อนแอ กล้าตัดสินใจในภาวะวิกฤต และกล้ารับผิดชอบ มิใช่ปัดความรับผิดชอบให้ผู้อื่น เป็นต้น 8. ผู้นำต้องมีความรู้ แต่เมื่อรู้แล้ว ท่านมีอามานะฮ์ ( หน้าที่) ตักเตือนและสอนสั่งผู้อื่นที่ไม่รู้ให้ได้รู้ มีความสามารถในการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของ GLOBALIZATION อาทิ การคุตบะฮ์( บรรยายธรรม) ในการละหมาดวันศุกร์ควรพัฒนาตามกระแสโลก การเปลี่ยนแปลง ของปัญหาสังคม ชุมชน และปรับให้ทันกับองค์ความรู้ใหม่ๆ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้นำต้องมีความสามารถในการปรับบทบัญญัติตามหลักศาสนา ให้เข้ากับข้อเท็จริงและปัญหาสังคมนั่นเอง จึงจะสามารถสร้างคุณค่าให้แก่สังคมได้
masjidthai.com
ที่ตั้ง 257 ม.2 ตำบลไสไทย อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ 81000 Tel 086 159 6554
จำนวนผู้เข้าชม: 962,244